All PostFacebookGoogle+Social NetworkTwitter

ค่า Klout วัดความเป็นเราใน Social Network ได้จริงหรือ?

อันค่า “คล้าว (Klout)” นี่มันคืออะไร บางคนฟังแล้วเค้าก็ไม่ค่อยเข้าใจ ไม่รู้ว่ามันมาจากไหน ไม่รู้ว่าใครนำมันเข้ามา (ไม่ใช่ละ)

เข้าเรื่องกันดีกว่า โลกชั้นวรรณะนั้นเป็นยังไง ใน Social Network ก็มีวรรณะที่มองไม่เห็นรายล้อมอยู่รอบตัวเรา บางคนอาจจะมีคนตามใน Twitter เยอะ เค้าอาจจะเป็น “เซเล็บ” ใน Twitter (คือเป็นที่รู้จักในดินแดนทวิตเตอร์) แต่คนตาม “เซเล็บ” ก็ไม่ได้หมายความว่าเค้าจะชื่นชมบูชาและเชื่อเซเล็บคนนั้น กลับกันบางคนมีคนตามน้อยกว่าเซเล็บซักครึ่งนึง แต่ทุกๆ ทวีตที่เค้าทวีต กลับมีคน Retweet กระจุย กด Fav กระจาย ก็เท่ากับว่าคนๆ นี้ถึงจะไม่ได้เป็นเซเล็บ แต่เค้าก็ทำให้คนที่ตามเค้าชาบูเค้าได้อย่างจริงจังได้ (ประดุจศาสดากับสาวกยังไงหยั่งงั้น)

นี่แหละคือที่มาของค่าคล้าว (อ่านแล้วงงไหม)

อันว่าค่าคล้าวนี่ คงมีกำเนิดขึ้นมาด้วยที่มาของโครงการอย่างที่บอก ซึ่งมันคงจะน่าเชื่อถือว่าการวัดค่า “ชาบู” ของคนหนึ่งคนด้วยจำนวน Followers หรือจำนวน Like ใน Facebook ห้วนๆ อย่างเดียว คล้าวเลยสร้างขึ้นมาด้วยการพิจารณา, หลักเกณฑ์นู่นนั่นนี่ที่ซับซ้อน จนกลั่นออกมาเป็นค่าคล้าวให้ดูว่า นาย A นาย B มีค่าคล้าวเท่าไหร่ ถ้ามีเยอะแสดงว่าเค้ามีอิทธิพลต่อความคิดของคนอื่นในสังคมโซเชี่ยวเน็ตเวิร์กไม่ใช่น้อย (ฟังดูเหมือนลัทธิอะไรชอบกล ฮา)

แต่…ค่าคล้าวมันวัดค่าชาบูเหล่านี้ได้จริงหรือ? ลองมาดูปัจจัยที่อาจจะทำให้ค่าคล้าวพวกนี้ไม่ศักดิ์สิทธิ์เท่าที่มันควรจะเป็นกันดีกว่า

จริงๆ ค่าคล้าวเหมาะกับการวัดค่าชาบูใน Twitter เท่านั้น แต่…?

ก่อนอื่นต้องพูดถึงเกณฑ์พิจารณาค่าคล้าวกันก่อน
ในทวิตเตอร์ ถ้าคุณมีความน่าชื่นชมชาบู มีคน RT เยอะ มีคนตามเยอะ มีคน mention หาใน Twitter บ่อยๆ คุณก็จะมีค่าคล้าวสูง แต่เดี๋ยวก่อน! ค่าคล้าวนั้นไม่ได้พิณาจากทวิตเตอร์แต่อย่างเดียว ถ้าเราใช้ Social Network ตัวอื่นด้วย ได้แก่ Facebook, Fouraquare และ LinkedIn, Instagram, Blogger, Flickr, Last.fm นู่นนี่เต็มไปหมด ถ้าอยากได้ค่าคล้าวสูงๆ เราก็สามารถนำแอคเคาต์ของเราในสารพัดโซเชี่ยวที่เหลือมาให้คล้าวพิจารณาได้ ซึ่งหลักเกณฑ์ในการพิณาค่าชาบูก็คือๆ กันกะใน Twitter (เช่น มีคน Like เยอะ, มี Connection เยอะ, มีเพื่อนเยอะ ไรงี้)

…เริ่มเห็นอะไรไหม? ไปดูประเด็นต่อไปโลด

ทำไงให้ค่าคล้าวสูงๆ? มันมีสูตร…

พอเริ่มมีช่องทางให้หาค่าคล้าวได้เยอะๆ ทีนี้ค่าคล้าวของแต่ละคนจะเริ่มเชื่อถือไม่ได้ละ บางคนที่ค่าคล้าวเยอะก็กลับกลายเป็นว่าเค้าอาจจะไม่ได้มีค่า “ชาบู” สูงก็ได้ เค้าอาจจะมีเพื่อนใน Facebook เยอะ (เพื่อการส่งไอเทมหากันในเกมผัก) ได้เป็น Mayor สถานที่สำคัญ ในขณะที่บางคนไม่เล่น Facebook ในเชิงนั้น เค้าอาจจะมีเพื่อนน้อย (ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา ฮิ้ว) ค่าคล้าวของเค้าก็อาจจะมีแค่ 60-70 เพราะเค้าไม่ได้ใช้ Facebook ในการพิณา มันก็ทำให้ค่าคล้าวของเค้ามีอยู่แค่นั้น กลับกันกับคนที่ค่าคล้าวสูงๆ เค้าอาจจะใช้ Social Network ทุกช่องทางมาเพื่อให้ได้ค่าคล้าวสูงๆ (เยี่ยงเว็บบางเว็บที่เนื้อหา Content อาจจะไม่ดี แต่ทำ SEO เก่ง เว็บเค้าก็ขึ้นหน้าแรก Google ได้สบายแฮไรงี้)

สรุปก็คือพอค่า “คล้าว” นี่ มันกลายเป็นที่นิยมขึ้นมา (ตามสูตรนักการตลาดก็จะบอกว่า คนที่มีค่าคล้าวเยอะ เป็นคนที่มีสาวกเยอะ น่าเชื่อถือ มีอิทธิพล เป็นอินฟุเอนเซ่อ นู่นนั่นนี่นี่นั่นนู่น) และอย่างที่รู้ๆ กัน อะไรที่มันถูกอวยหรือยกยอปอปั้นขึ้นมามากๆ มันก็จะมีคนมาให้ความสนใจมาก และมีคนหาทาง “ปั่น” เพื่อให้ได้ค่าคล้าวสูงๆ นั่นเอง อย่างที่บอกคือมันมีสูตรการทำค่าคล้าวเยอะแยะไปหมด เพราะฉะนั้นคนที่ทำตามสูตรก็จะมีค่าคล้าวเยอะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเค้าจะเป็นอินฟุเอนเซ่อจริงๆ

แต่ทั้งนี้ ค่าคล้าวนี่ก็ไม่ได้เป็นค่าขี้จุ๊เบ่เบ๋เชื่อไม่ได้ซะทีเดียว เพราะว่าในบางกรณีก็วัดได้นะว่าคนๆ นี้เค้าเป็นที่ “ชาบู” หรือเปล่า เช่น Lady Gaga ที่มีค่าคล้าวสูงถึง 92 ทั้งๆ ที่ใช้แค่ทวิตเตอร์มาวัดอย่างเดียว! ก็แสดงว่าเจ๊คนนี้เป็นคนที่มีอิทธิพลในโลกทวิตเตอร์แบบไม่ต้องสงสัย (แหงสิ ทวีตทีคน RT เรือนหมื่นเรือนแสน) ไรงี้

อาจจะสรุปอีกทีได้ว่า ค่าคล้าวจะน่าเชื่อถือที่สุด ถ้าเป็นค่าคล้าวของคนที่ไม่เคยมายุ่งเกี่ยวอะไรกะระบบคล้าวเลย เอวังด้วยประการฉะนี้ :huhu:

เรียบเรียงและเหมาเอาเองจาก businessinsider ผ่านทวีต @iannnnn, ที่มาภาพทัมบ์เนล
SHARE :
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
Bluemoon
the authorBluemoon
I come from B612 star, nerd, greedy, moody, lazy, Facebook Development, social Networking. almost Blog in Thai but English OK. ^^