Social NetworkTwitter

วิวัฒนาการของการรีทวีต Protected Account

การรีทวีต (Retweet, RT) ถึงแม้จะไม่ใช่ความสามารถดั้งเดิมของทวิตเตอร์ แต่มันก็ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจากผู้ใช้ เช่น

ก็ทำให้ทวิตเตอร์เพิ่ม API สำหรับรีทวีตโดยเฉพาะ แต่มันก็มีข้อจำกัดตรงที่ผู้ใช้สามารถกดรีทวีตได้แต่เฉพาะ public account (ใครๆ ก็เข้าไปอ่าน timeline ได้) เท่านั้น ส่วนถ้าใครอยากรีทวีต protected account (จะอ่าน timeline ต้องตามให้ได้ก่อน) ก็ต้องไปขออนุญาตรีทวีตจากเจ้าตัวเป็นครั้งๆ ไป แล้วจึงทำการรีทวีตแบบเดิม เช่น

อย่างไรก็ตาม การรีทวีตแบบนี้อาจทำให้เกิดความไม่สบายใจได้ (แม้ผู้รีทวีตจะได้รับอนุญาตจากต้นฉบับแล้วก็ตาม) เพราะเป้าหมายของ protected account คือการ “บ่น” สิ่งที่ไม่พอใจในวงจำกัดเท่านั้น การที่ข้อความในวงจำกัดถูกรีทวีตแบบเก่าออกไปโดยมีชื่อติดอยู่เช่นนี้ อาจสร้างศัตรูย้อนกลับมายัง protected account เจ้าของทวีตต้นฉบับนั้นได้

พัฒนาการของการพยายามรีทวีต protected account นั้นเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนตัวอักษรบางตัวใน @username เป็นอย่างอื่น (เพื่อให้ผู้รู้จักสืบย้อนกลับมายังต้นฉบับได้) ไปจนถึงการลบ @username ออกไปเลย (ไม่สามารถสืบกลับได้ว่าเป็นใคร) อย่างเช่น

การลบ @username ออกไปทั้งหมด แม้จะดูว่าเป็นหนทางที่ตอบโจทย์ของ protected account มากที่สุด แต่ก็ส่งผลให้การค้นหาย้อนหลังถึงต้นฉบับนั้นยากมากหรือเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากนี้มันยังสามารถมองว่าเป็นการก๊อปทวีตได้อีก หรืออาจเลวร้ายถึงขั้นที่โดนสงสัยว่า ทวีตนั้นๆ ไม่ใช่การรีทวีต แต่เป็นทวีตต้นฉบับเสียเอง

นี่เลยทำให้เกิดวิธีรีทวีตแบบ “มุกวงใน” ขึ้นมา (และมันก็ลุกลามกลับไปยัง public account ด้วย) เช่นนี้

ก็น่าจับตามองกันว่า ทวิตเตอร์จะยินยอมให้รีทวีต protected account ในระดับ API หรือไม่ และถ้ายอมแล้ว จะแก้ปัญหาความต้องการปกปิดตัวตนของ protected account อย่างไร หรือสุดท้ายแล้วผู้ใช้ก็ต้องคิดค้นดัดแปลงวิธีการรีทวีตกันเองต่อไป

ส่วนระหว่างนี้ ใครจะเอาการรีทวีตแบบนี้ไปเล่นบ้าง ก็อย่าลืมดูสถานการณ์เพื่อนร่วม timeline ด้วยนะครับ

SHARE :
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
neizod
the authorneizod
jack of all trades