ยุคสมัยเปลี่ยนไป การหาเสียงของพรรคการเมืองไทยก็เปลี่ยนตาม เมื่อประชาชนหันมาเล่น Facebook ขลุก Twitter กันมากขึ้น การหาเสียงของพรรคการเมืองในแต่ละพรรคก็ขยับขยายมาใน Social Network เช่นกัน มาดูกันว่าในแต่ละพรรคใช้ Social Media ในการหาเสียงอย่างไรบ้าง :D
ออกตัวไว้ก่อนว่านี่เป็นการรวมลิงก์ Social Media ของพรรคการเมืองหลักๆ นะฮะ และในบล็อกตอนนี้ขอปิดไม่ให้คอมเมนต์นะคะ :D
เบอร์ 1: พรรคเพื่อไทย
- เน้นการโปรโมตคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นพิเศษ
- มี Facebook-Twitter ของคุณยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย แยกออกจากกัน
- ใน Social Media ของคุณยิ่งลักษณ์ เน้นการพูดคุยและโปรโมตว่าไปหาเสียงตามที่ต่างๆ ใช้การทวีตเองเพื่อเพิ่มความเป็นกันเอง
- Facebook ของคุณยิ่งลักษณ์
- Twitter ของคุณยิ่งลักษณ์
- Facebook ของพรรคเพื่อไทย
- Twitter ของพรรคเพื่อไทย
- เว็บไซต์พรรคเพื่อไทย
เบอร์ 5: พรรครักประเทศไทย
- เน้นการโปรโมตคุณชูวิทย์
- หาเว็บไซต์และ Social Media อื่นๆ ไม่เจอ แต่มีการทำคลิป “ให้โอกาสชูวิทย์” เป็นคลิปสั้นๆ 4 คลิป (เท่าที่เจอ) ไม่แน่ใจว่าฉายในสื่อโทรทัศน์ด้วยหรือเปล่า แต่มีคลิปใน YouTube
- ด้วยความแนวและตลกปนเสียดสีของคลิป ก็ทำให้มีคนบอกต่อกันใน Twitter และ Facebook อยู่ไม่น้อย :D
- YouTube รวมคลิป “ให้โอกาสชูวิทย์”
เบอร์ 10: พรรคประชาธิปัตย์
- เป็นพรรคที่ชูคอนเซ็ปต์ “หาเสียงผ่าน Social Media” ชัดเจนที่สุด
- มี Facebook, Twitter ของคุณอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรค และ Facebook, Twitter ของพรรค แยกออกจากกัน
- เนื้อหาใน Social Network ก็ประชาสัมพันธ์เรื่องการไปหาเสียงตามที่ต่างๆ (และมี Live Stream ให้ดูออนไลน์ใน Facebook)
- มีการทำ Application Democrat ให้โหลดฟรีผ่าน App Store
- มีกิมมิกเล็กๆ เช่นการใส่ Picbadge ให้กับ Display Picture ใน Social Network ด้วย
- Facebook ของคุณอภิสิทธิ์
- Twitter ของคุณอภิสิทธิ์
- เว็บไซต์คุณอภิสิทธิ์
- Facebook ของพรรคประชาธิปัตย์
- Twitter ของพรรคประชาธิปัตย์
- เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์
- App Democratth on App Store
เบอร์ 16: พรรคภูมิใจไทย
- ยังไม่มีบทบาทใน Social Network เท่าไหร่ แต่ก็มี Facebook, Twitter และเว็บไซต์ครบสรรพ (ถ้าจะเข้าไปดูเว็บไซต์ บอกไว้ก่อนว่ามี Autoplay เสียง นะฮับ)
- Facebook พรรคภูมิใจไทย
- Twitter พรรคภูมิใจไทย
- เว็บไซต์พรรคภูมิใจไทย
บทบาทในสื่ออื่นๆ กับ Social Network และการเลือกตั้ง
สำหรับกระแสตอบรับของการหาเสียงผ่าน Social Network ของพรรคต่างๆ ก็มีกระแสตอบรับและต่อต้านปนกันไป เช่น กกต. ห่วงการโปรโมตการ หาเสียง ผ่าน social network “กระหึ่มง่าย คุมยาก” บ้าง หรือ จะมีมาตรการให้แต่ละพรรคออกมาแจกแจงงบประมาณที่ใช้หาเสียงผ่าน Social Network บ้าง หรือกระแสที่ว่าก่อนการเลือกตั้งให้หยุดหาเสียงทุกวิถีทาง ไม่เว้นแม้แต่การโพสต์ใน Twitter หรือ Facebook (นี่แสดงว่าท่านผู้ทรงวัยวุฒิในหน่วยงานแบบนี้ ไม่เข้าใจเรื่อง Social Network เลยใช่ไหม -.-)
ส่วนกระแสในสื่ออื่นๆ เช่น Nation ก็ออกมาจัดงาน “NForum” ว่าด้วยเรื่องของการหาเสียงกับการใช้ Social Media มีวิทยากรและแขกผู้ทรงเกียรติมาร่วมถกประเด็นกันมากมาย งานนี้จะจัดในวันที่ 28 ที่จะถึงนี้ ใครสนใจก็เข้าไปดูรายละเอียดใน Facebook กันได้ฮับ
ก็ขอจดบันทึกไว้ในบล็อกเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย ก่อนการเลือกตั้งเราอาจจะได้เห็นดีเบตกันสดๆ ของผู้สมัครคู่เดือด ผ่านทาง Facebook Twitter ก็อาจเป็นได้ ใครจะรู้