และนี่ก็เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งของชาวเน็ตประเทศไทยที่ร้อนระอุขึ้นมา เมื่อผบ.ของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. จะเข้ามาควบคุมแอพแชทอันมุ้งมิ้งอย่าง Line โดยท่านได้อ้างว่าการแชทกันผ่าน Line กระทบต่อความมั่นคงของชาติ !! (อ่านข่าวต่อได้ที่นี่, ที่นี่ และ ที่นี่)
เรามาดู LINE Privacy Policy กันก่อนดีกว่า (ขอบคุณข้อมูลจากคุณ Ford AntiTrust) เมื่อไปดู Provision of Information ก็จะพบข้อความดังต่อไปนี้ครับ
เมื่อนำมาแปลเป็นภาษาไทยทั้งหมดแบบเข้าใจได้ง่าย ก็จะเป็นดังนี้
การให้ข้อมูล
บริษัทจะไม่ให้ข้อมูลของผู้ใช้ Line กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นๆ ยกเว้นเงื่อนไขดังต่อไปนี้ :
• เมื่อผู้ใช้คนนั้นเห็นด้วยกับข้อกำหนดต่างๆ ของ Line ล่วงหน้า
• กฎหมายกำหนดให้บริษัทต้องเปิดเผย
• เมื่อ Line พบว่ามีเหตุผลที่จะเชื่อว่าผู้ใช้คนนั้นจะละเมิดข้อตกลงและเงื่อนไขในการให้บริการและ Line ถูกบังคับให้ต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้เพื่อที่จะปกป้องสิทธิของ บริษัทฯ คุณสมบัติและ/หรือบริการของ Line
• เมื่อจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อป้องกันชีวิตของผู้ใช้หรือคุณสมบัติต่างๆ โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบล่วงหน้า
• เมื่อจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อความเป็นอยู่ของประชาชนหรือเพื่อส่งเสริมความเห็นของเด็ก ๆ โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบล่วงหน้า
• เมื่อบริษัทฯ จะต้องให้ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของรัฐหรือบุคคลหรือผู้ประกอบธุรกิจ โดยได้รับมอบหมายในการดำเนินกิจการตามที่กฎหมายและระเบียบข้อบังคับและต้องได้รับความยินยอมต่อผู้ใช้ด้วย
• ในกรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ถูกเปิดเผยเป็นผลมาจากความสำเร็จของธุรกิจของ บริษัท ฯ ในการควบรวมกิจการหรือรับโอนกิจการ ฯลฯ
มีหรือที่คนในแวดวงไอทีและชาวเน็ตทั้งหลายได้ออกมาให้ความคิดเห็นกันอย่างหนาแน่นทั้งใน Facebook และ Twitter กันเลยทีเดียว แวะไปดูที่บุคคลในแวดวงไอทีกันก่อนกับอาจารย์ศุภเดช (@ripmilla) แห่งแบไต๋ไฮเทค ซึ่งพี่โก๋ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านคลื่น 100.5 แล้วสรุปลงบน Facebook ดังต่อไปนี้
สิ่งที่น่าสนใจคือ เครือข่ายพลเมืองเน็ต ได้ออกแถลงการณ์เครือข่ายพลเมืองเน็ต: รัฐไทยต้องให้ความชัดเจนเรื่องการสอดส่องประชาชนบนไลน์และสื่อสังคมอื่นออกมา ซึ่งใจความสำคัญของแถลงการณ์ดังกล่าว เครือข่ายพลเมืองเน็ตมีข้อกังวลและข้อเรียกร้องก็คือ
- ปอท.ต้องให้ความชัดเจนว่า การขอข้อมูลที่ ปอท.กล่าวถึงนั้น มีข้อมูลอะไรบ้าง
- ผู้บริการการสื่อสารและเครือข่ายสังคมออนไลน์ ควรปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้ โดยเฉพาะสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล
- ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องดำเนินการตามที่ระบุในกฎหมาย และหยุดการ “ขอความร่วมมือ” อย่างไม่เป็นทางการจากผู้ให้บริการ
- ตำรวจและรัฐบาลไทย ต้องหยุดการกระทำที่ทำให้เกิดความกลัวในหมู่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รวมทั้งหยุดการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ อย่างพร่ำเพรื่อ
- เครือข่ายพลเมืองเน็ตมีข้อเสนอแนะในการรับมือกับข่าวลือซึ่งอาจกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือรัฐบาล
โดยใจความสำคัญที่สุดของแถลงการณ์ก็คือ
อินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทางสังคมที่เราทุกคนอยู่ร่วมกัน ทั้งภาครัฐ ผู้ให้บริการ และพลเมืองเน็ตจะต้องมีบทบาทร่วมกันในการรักษาพื้นที่นี้เพื่อประโยชน์สาธารณะ บนพื้นฐานของการรักษาสิทธิพลเมืองและปกป้องสิทธิมนุษยชน การกระทำที่ทำให้เกิดการตื่นตระหนก และความรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่เป็นส่วนตัว จะส่งผลเสียทางเศรษฐกิจ และกิจวัตรประจำวันของผู้คนที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตได้
ซึ่งพล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผบ.ปอท. ได้ชี้แจงว่าเรื่องการขอดูข้อมูลใน Line เป็นเรื่องจริงและได้ประสานไปยังบริษัท Line ที่ต่างประเทศแล้ว แต่จะเข้าตรวจสอบเฉพาะกรณีที่ผิดกฎหมายและกระทบความมั่นคงของประเทศ (ขอบคุณข่าวจาก Blognone) ซึ่งประกอบไปด้วย
- กลุ่มค้าอาวุธเถื่อน
- กลุ่มค้ายาเสพติด
- กลุ่มค้าประเวณี
- กลุ่มค้าของปลอมหรือละเมิดลิขสิทธิ์
ล่าสุด LINE Corporation ก็ได้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการว่ายังไม่ได้รับคำขออย่างเป็นทางการจาก ปอท. ดังนั้น LINE จึงยังคงไม่สามารถให้ข้อมูลใดๆ ได้ ซึ่ง LINE ยังคงมีนโยบายหลักในการรักษาข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน และยังคงรักษามาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล (ขอบคุณข่าวจาก MCOT.net)
ตามเคยครับ พอมีเหตุการณ์ระดับชาติขนาดนี้ แต่ละเพจก็แสดงความเห็นผ่านทางภาพกันเต็มที่ เราไปดูกันดีกว่าว่าเพจไหนหรือใครที่แสดงออกต่อเรื่องนี้อย่างไรบ้าง
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าท่าทีของปอท.จะดำเนินการทำเรื่องนี้ต่อไปหรือไม่ เราก็คงต้องติดตามข่าวนี้กันต่อไป ถึงแม้ว่าเรื่องนี้ต่างมีคนแสดงความคิดกันมากมาย แต่ถึงอย่างไรแล้ว สิ่งสำคัญคือการให้สิทธิเสรีภาพต่อประชาชนในการใช้อินเทอร์เน็ตนั่นคือสิ่งที่ประชาชนทุกคนควรจะได้รับไว้นั่นเอง
ของฝากท้ายเรื่อง
ขอบคุณภาพจากเพจ ไม่มีใครพูด