All PostApplicationDevelopmentFacebook

กรณีศึกษา | สิ่งที่ได้จากการทำเกมบน Facebook

ต้นฉบับบทความนี้มาจาก การยืนบนพื้นที่แคบ ๆ โดยไม่ให้ล้ม โดยคุณ Tai Parinya ฮับ ว่าด้วยเรื่องของสิ่งที่ได้จากการทำเกมบน Facebook อ่านแล้วเห็นว่าน่าสนใจดีนะ :D เผื่อใครอยากทำเกมบน Facebook หรือบน Social Network ใดๆ ลองอ่านไว้เป็นกรณีศึกษาก็ดีฮะ

หลังจากผมปล่อย Beelony ออกมาให้ผู้เล่นได้เล่นมาเป็นเวลาหนึ่งเดือน ผมก็ได้เจอเรื่องน่าสนใจหลาย ๆ อย่าง เลยว่าจะเล่าให้อ่านกันดังนี้

  • ความน่าสนใจของเกมบน Facebook จะขึ้นอยู่กับ คุณภาพ, แบรนด์ และราคา
  • เกมบน Facebook จะไม่มีทางเปิดตัวได้เลย ถ้าไม่มีการโฆษณา
  • การโฆษณาบน Facebook มีราคาสูง ไม่เหมือนกับการโฆษณาผ่าน Adwords แต่ถึงแม้มันจะมีราคาสูง มันก็เข้าถึงผู้ใช้งานบน Facebook ได้ดีกว่าวิธีอื่น ๆ
  • มันมีเทคนิคในการโฆษณาบน Facebook ที่ราคาต่ำ ๆ แต่เป็นเทคนิคที่ผู้ทดลอง ต้องลองเจ็บตัวซ้ำ ๆ ซาก ๆ เองก่อนถึงจะได้รู้
  • ไม่มีทางที่เกมบน Facebook จะเปิดตัวมาแล้วดังเปรี้ยงปร้าง หรือมีคนเข้ามาเล่นอย่างล้นหลามในทันที ยุคสมัยนั้นมันจบไปแล้ว ต้องรับรู้ไว้เลยว่ามีคู่แข่งขันเยอะมาก ๆ
  • ในโลกมีคนเก่ง ๆ อยู่เยอะแยะ ออกไปสู้กับคนอื่นเขา ต้องกินให้น้อยกว่าเขา แต่ต้องทำให้ได้พอ ๆ กับเขา หรือด้อยกว่านิดหน่อยก็ยังดี
  • การลอกเลียนแบบเกมที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ คือการฆ่าตัวตาย เพราะผู้เล่นย่อมเลือกเล่นเกมต้นแบบซึ่งมันดีกว่าอยู่แล้ว
  • ผู้เล่นจะมีเกมในดวงใจอยู่ 2 ถึง 3 เกม จงทำให้เกมของเราเป็นเกมในดวงใจเกมที่ 4 หรือ 5 เพราะเวลาของผู้เล่นก็ไม่ได้มีมากมายอะไร เขาย่อมไม่มาสนใจเกมได้เป็นสิบ ๆ เกมหรอก
  • การเตรียม Infrastructure ใหญ่โตเอาไว้ เพราะคิดว่าจะมีผู้เล่นมากมาย กรูกันเข้ามาเล่นในฉับพลันทันที คือความเสี่ยง เพราะถ้าไม่มีผู้เล่นมากมายตามที่คิดเอาไว้ ต้นทุนของ Infrastructure มันจะย้อนกลับมาทำให้เราล่มจมทันที
  • การใช้ Cloud Computing เป็น Infrastructure นี่มันโคตรดีมาก ๆ เพราะถึงแม้ราคาปอนด์ต่อปอนด์จะแพงกว่าพวก Virtual Private Server หรือ Dedicated Server แต่ถ้าถึงเวลากลียุคทางต้นทุน มันก็ยืดหยุ่นจนนำพาให้เรารอดได้เหมือนกัน
  • การลดต้นทุนการพัฒนา, ลดต้นทุน Infrastructure และลดต้นทุนโฆษณา โดยไม่ทำให้การขับเคลื่อนเกมบน Facebook ได้รับผลกระทบ คือ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกมบน Facebook อยู่รอดไปได้เรื่อย ๆ โดยไม่เจ๊งบ๊งไปซะก่อน
  • คนอเมริกาเล่นเกมบน Facebook เยอะก็จริง แต่คนฟิลิปปินส์และคนอินโดนีเซีย ก็เล่นเกมเยอะไม่แพ้ชาติใดในโลกเหมือนกัน
  • การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เก่ง, การวาดรูปเก่ง และการทำเสียงประกอบเกมได้เก่ง แทบกลายเป็นปัจจัยรองไปเลยในการทำเกมบน Facebook เพราะสิ่งที่สำคัญมันคือการจับกลุ่มผู้เล่นแบบเฉพาะเจาะจง และการทำให้ผู้เล่นจงรักภักดีต่อเกมต่างหาก ซึ่งทักษะที่จะทำได้มันเป็นทักษะทาง “การตลาด” เฟ้ย ไม่ใช่ทักษะทาง “วิทยาศาสตร์” เล้ย
  • ถ้าลูกเล่นหรือรูปแบบของเกมมันไม่โดน ต้องกล้าหาญที่จะรื้อถึงแก่นในทันที และถ้าการรื้อมันทำให้ผู้เล่นเกิดผลกระทบ ก็ต้องเตรียมการเพื่อชดใช้ให้แก่ผู้เล่น อย่างสมน้ำสมเนื้อเหมือนกัน
  • ผู้เล่นที่จงรักภักดีเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเขาจะพยายามโน้มน้าว ชักชวน เผยแพร่ เพื่อให้เพื่อน ๆ ของเขาเข้ามาเล่นเกมที่เขากำลังเล่น ถึงแม้เพื่อนของเขาจะเล่นเกมอื่นอย่างติดหนึบอยู่แล้วก็ตาม
  • ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการสื่อสารกับผู้เล่นเกมบน Facebook ดังนั้น ต้องเขียนให้เป็นภาษาเขียน ใช้ไวยากรณ์ให้ถูกต้องแบบที่ฝรั่งเขาใช้ ไม่ใช่แบบที่คนไทยใช้สื่อสารกันเอง
  • การแปลข้อความในเกม ให้เป็นภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ ยังไม่ใช่สิ่งสำคัญในตอนนี้
SHARE :
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
Bluemoon
the authorBluemoon
I come from B612 star, nerd, greedy, moody, lazy, Facebook Development, social Networking. almost Blog in Thai but English OK. ^^