All PostFacebookLINESocial NetworkTwitter

รวมมิตรข่าวหน่วยงานรัฐอาจเซ็นเซอร์ Social Network ในไทย

ไหนๆ ก็ไหนๆ เขียนรวมมิตรข่าว “หน่วยงานรัฐ” เตรียมเซ็นเซอร์พฤติกรรมการใช้ Social Network ในไทยซะหน่อย เอาไว้เป็นที่มาในกรณีอื่นๆ อีก อะไรงี้นะฮับ

เตรียมใจ…ระบบเซ็นเซอร์ทวีตมาเยือนประเทศไทยแน่ ด้วยรัก จาก ICT

อันนี้เป็นข่าวมาจาก ทวิตเตอร์ยินยอมทำระบบเซ็นเซอร์ทวีตให้กับบางประเทศที่ร้องขอ ซึ่งประเทศไทยก็ไม่รีรอที่จะขอเป็นประเทศแรกที่ใช้ระบบนี้

กด Like ก็อาจติดคุกได้

อันนี้ไม่แน่ใจว่าต้นตอข่าวมาจากไหน แต่สื่อนอกเล่นกันครึกโครมมาก (ยกตัวอย่างมาเฉพาะ The Next Web และ The Washington Post reports) ในกรณีที่กล่าวว่า การกดไลก์ก็อาจถือเป็นอาชญากรรมได้ เพราะถือว่าเป็นหนึ่งในผู้เผยแพร่ข่าวสารเช่นเดียวกัน

บทสนทนาใน LINE ก็อาจโดนส่อง

อันนี้มีข่าวจากทั้งเนชั่น: Japanese operator of chat app asked to help; TCSD awaiting response และ Breaking News ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กสม.ชี้ปอท.จ่อสอบสนทนาผ่านโปรแกรมแชทหวั่นละเมิดสิทธิ และ ปอท.ยันจับตาเฉพาะกลุ่มคนเล่น Social Media ที่เสี่ยงผิดกม.
ซึ่งจะขอยกข่าวมาอ้างอิงไว้ตามนี้นะฮับ

กสม.ชี้ปอท.จ่อสอบสนทนาผ่านโปรแกรมแชทหวั่นละเมิดสิทธิ

นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่ากองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บก.ปอท.) เตรียมตรวจสอบการสนทนาผ่านโปรแกรมแชทไลน์ว่า ต้องทำความเข้าใจว่า การสนทนาผ่านโปรแกรมแชทนั้น ถือเป็นการสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องส่วนตัวผ่านพื้นที่สาธารณะ ซึ่งหากบก.ปอท.จะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลการสนทนาจริง ต้องระวังไม่ให้ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตราฐานสากลทั่วโลก เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสากล ไม่ใช่เฉพาะการสนทนาในประเทศเท่านั้น อีกทั้งตนมองว่าการตรวจสอบดังกล่าวมีความสุ่มเสี่ยงที่จะละเมิดสิทธิบุคคลอื่นได้ง่าย เพราะการสนทนากันส่วนใหญ่ เป็นการสนทนากันในเรื่องเฉพาะตัว การเข้ามาตรวจสอบข้อมูลการสนทนาก็คล้ายกับการดักฟังโทรศัพท์ ดังนั้นหากจะทำจริง ก็ต้องวางกรอบแนวทางในการตรวจสอบให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้อื่นด้วย อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้เกี่ยวพันธ์กับกรณีที่ทางบก.ปอท. ได้ออกหมายเรียก 4 บุคคล ที่โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการปฏิวัติผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค กรณีนี้มีการร้องเรียนมายังคณะกรรมการสิทธิฯ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิฯ ก็คงจะหยิบยกประเด็นดังกล่าว เข้าร่วมพิจารณาด้วย

ปอท.ยันจับตาเฉพาะกลุ่มคนเล่น Social Media ที่เสี่ยงผิดกม.

พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) เปิดเผย ในรายการเมืองไทย 77 จังหวัด ทางช่อง คมชัดลึกทีวี โดยบอกว่าเราไม่ได้เจาะจงแค่โปรแกรม LINE แต่เราต้องดู Social Media ทั้งหมด เราไม่ได้จะดูของทุกคน แต่เราจะดูของคนที่มีแนวโน้มใช้ไปในทางที่ผิดกฏหมาย กระทบต่อความมั่นคง กระทบต่อศีลธรรมอันดี โดยเราจะขอเป็นกรณีๆไป โดยผู้ผลิตโปรแกรม LINE ก็ยินดีให้ความร่วมมือ โดยผมดำเนินการติดต่อไปตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา แต่เพิ่งได้รับการตอบรับให้ไปคุยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเรามองปัญหาด้านอาชญากรรมเป็นหลัก เรื่องการเมืองเราไม่ได้เน้น

พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ยังกล่าวย้ำอีกว่าผมจะเฝ้าดูคนที่ใช้ Social ไปในทางที่ผิดกม. หรือละเมิดสิทธิคนอื่น ขอเรียนว่าหน้าที่ของตร.ไม่ใช่แค่ปราบปรามแต่ต้องป้องกันด้วย ส่วนคนดีๆที่ใช้ Social Media อย่างสร้างสรรค์ เราก็ไม่ไปยุ่งกับเขาแน่นอน คนที่คัดค้านไม่เป็นไร แต่ถ้าใครใช้แบบในทางที่ผืดกฏหมายผมต้องดำเนินการ ตอนนี้ เริ่มดำเนินการเฝ้าระวังแล้ว แต่ในกรณีที่ผิดกม.เท่านั้น

ก่อนหน้านี้เราขอความร่วมมือไปที่ วอทแอพ ยูทูป เฟซบุ๊ค แต่ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะในเรื่องข้อกำหนดของเขา แต่ไม่เป็นไร เราก็มีวิธีของเราในการตรวจสอบคนที่โพสต์ข้อความสุ่มเสี่ยงต่อความั่นคง แต่ขออนุญาตไม่บอก

มอนิเตอร์โดย ทีมข่าว sms Nation Mobile News

ซึ่งเท่าที่อ่าน คุณผู้บังคับการหน่วยปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ขอย่อชื่อองค์กร) เนี่ย ก็พยายามทำทุกทางที่จะสอดส่องในวิถีชาวออนไลน์ที่มีแนวโน้มสุ่มเสี่ยงที่จะใช้ LINE เป็นเครื่องมือในการทำผิดกฎหมาย (แต่ในแง่ไหนก็ยังนึกไม่ค่อยออก) ก็ตามที่ทวีตนี้ว่านะฮับ

อันนี้คือรวบรวมข่าว “หน่วยงานรัฐ VS Social Network” มาให้ดู ก็อยากให้อ่านกันอย่างมีสติ เพราะบางข่าวก็มีเจตนาในการยุ่งกะ Social Network ไม่เหมือนกันซะทีเดียว ถ้าจะให้ใส่ความเห็นส่วนตัวก็คือ ข่าว Twitter นี่รัฐดูโคตรจะปิดกั้นสื่อและเสรีภาพในการแสดงออก, ข่าว Facebook นี่แย่มาก การกด Like ไม่จำเป็นต้องเป็นอาชญากรรม เพราะโดยกระบวนการของ Facebook บางทีผู้ใช้ไม่ได้มารับรู้ว่าเรา Like = เผยแพร่ข่าวสาร ส่วนข่าว LINE นี่ ถ้าเค้ามีการสอดส่องเฉพาะคนที่มีแนวโน้มจะทำผิด เราว่ามันก็ไม่ต่างอะไรกับตำรวจตั้งด่านตรวจหรือเปล่า? แต่เปลี่ยนจากในโลกจริงมาเป็นโลกไซเบอร์แค่นั้นเอง แต่ก็เข้าใจแหละนะว่าถ้าเค้าไม่มีมาตรการและกฎในการเลือกสอดส่อง LINE คนที่ไม่ได้ทำอะไรผิดแล้วซวยไปโดนสุ่มเจอข้อความ มันก็โดนละเมิดสิทธิ์ดีๆ นี่เอง

ใครคิดเห็นยังไงก็คอมเมนต์กันได้ตามสะดวกในขอบเขตของสุภาพชนฮับ :h_move3:

SHARE :
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
Bluemoon
the authorBluemoon
I come from B612 star, nerd, greedy, moody, lazy, Facebook Development, social Networking. almost Blog in Thai but English OK. ^^